แอลซีวิต 3 เอ็กซ์ กิฟฟารีน LZvit 3X ลูทีนเข้มข้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า

LZvit 3X

แอลซีวิต 3 เอ็กซ์ กิฟฟารีน LZvit 3X ลูทีนเข้มข้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า 

 

          แอลซีวิต 3 เอ็กซ์ กิฟฟารีน LZvit 3X ลูทีนเข้มข้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า  ให้ลูทีนและซีแซนทีน มากถึง 13.15 มก. เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลอย่างล้ำลึก ด้วย 3 สารสำคัญอันทรงคุณค่า แอสตาแซนธิน, สารสกัดจากบิลเบอร์รี่,  วิตามินเอ และวิตามินอี

          “แสงสีฟ้า” จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ ทีวี สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เป็นคลื่นแสงพลังงานสูง หากเราจ้องมองเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ โดยโรคนี้มักจะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุมาจากเซลล์ประสาทตาเสื่อมถอยตามอายุ

          แต่ในปัจจุบันคนอายุน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนั้น การดูแลดวงตาจากอาหารหลักเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จึงขอแนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของลูทีน ซีแซนทีน เป็นอีกทางเลือกที่ดีในการดูแลดวงตานั่นเองค่ะ

 

ลูทีน ซีแซนทีน มีงานวิจัยว่า..

  • ช่วยกรองแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ช่วยปกป้องเซลล์จอประสาทตาจากอนุมูลอิสระและแสงสีฟ้า
  • ลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

 

แอสตาแซนธิน มีงานวิจัยว่า..

  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยทำให้มองภาพได้ชัดขึ้น ด้วยกลไกการปรับโฟกัสของเลนส์ตา
  • ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตา ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดีขึ้น

 

สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ มีงานวิจัยว่า..

  • ช่วยชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา
  • ช่วยเพิ่มการปรับตัวในการมองเห็นในที่มืด

 

เทียบเท่าการทาน

  • แครอท 5 กิโลกรัม
  • ฟักทอง 1 กิโลกรัม
  • บล็อคโคลี่ 1 กิโลกรัม

 

ดวงตา

เรื่องน่ารู้ของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา

          ดวงตาทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับความรู้สึกด้านการมองเห็น ถ้าเรานอนวันละ 6 ชั่วโมงนั่นคือเราใช้ดวงตาวันละ 18 ชั่วโมง เดือนละ 540 ชั่วโมง ปีละ 6480 ชั่วโมง โดยเฉพาะในปัจจุบัน เราใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อ่านหนังสือหรือใช้สายตาในที่แสงน้อย หรือ สัมผัสแสงอาทิตย์และแสงยูวีปริมาณมาก ดังนั้น อาการเสื่อมถอยของสุขภาพตาจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถชะลอได้ หากเรารู้วิธีการป้องกัน และรู้จักสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูสภาพหรือบำรุงเซลล์ต่างๆ ภายในดวงตา (อ้างอิง 1) ตัวอย่างของสารอาหาร ดังกล่าว ได้แก่

 

1. ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)

          ลูทีน และซีแซนทีน เป็นสารประกอบที่จัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้าง สารประกอบทั้งสองนี้ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร และเป็นแคโรทีนอยด์ 2 ชนิดเท่านั้นที่พบอยู่ที่จุดรับภาพของลูกตา (Macula) และที่เลนส์ของตา ทั้งคู่ทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา มีประโยชน์ในโรคที่เกี่ยวกับดวงตาที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก (Agerelated cataract, ARC) และโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration, AMD) และยังอาจช่วยเพิ่มเรื่องการมองภาพให้เห็นชัดขึ้น (อ้างอิงที่ 2,3)

          โรคต้อกระจก คือภาวะที่กระจกตา และเลนส์ตาขุ่น ทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ ต้อกระจกจะค่อยๆขุ่นไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาเป็นปีๆ และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด กลไกของลูทีนและ ซีแซนทีน สามารถลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้น เป็นเพราะความสามารถในการช่วยกรองแสง UV และแสงสีฟ้า ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสียหายที่เกิดจากแสงที่ไปกระตุ้นการออกซิเดชั่นของโปรตีนหรือไขมัน ในเลนส์ตา (อ้างอิงที่ 3) การวิจัยที่ Harvard School of Public Health, Boston ในกลุ่มผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมเป็นลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของต้อกระจกถึง 19% (อ้างอิงที่ 4) และที่ University of Massachusetts ทำวิจัยในกลุ่มผู้หญิง 50,461 คน พบว่า ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของต้อกระจกถึง 22% (อ้างอิงที่ 5) การวิจัยที่ University of Wisconsin Madison Medical School ในคน 1,354 คน พบว่าช่วยลดอุบัติการณ์ของต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ (Nuclear Cataracts) ได้ถึง 50% (อ้างอิงที่ 6) จากการวิจัยทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีนและซีแซนทีน ลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง

          โรคจอประสาทตาเสื่อม จอประสาทตา (retina) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณหลังสุดของตา เมื่อใช้สายตามองดูสิ่งของ แสงที่กระทบสิ่งของจะสะท้อนผ่านเข้ามายังจอประสาทตา จอประสาทตาจะเปลี่ยนแสงให้อยู่ในรูปของ สัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งผ่านเส้นประสาทตา (optic nerve) ไปยังสมอง ที่จอประสาทตานี้ จะมีบริเวณที่ไวที่สุดของจอประสาทตา เรียกชื่อว่า แมคูลา ลูเทีย (macula lutea) แมคูลานี้จะประกอบไปด้วยเซลล์รับแสงนับล้านๆเซลล์ที่ช่วยการ มองภาพที่คมชัดตรงส่วนกลางของภาพ โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคซึ่งเกิดที่บริเวณ แมคูลา ลูเทีย (macula lutea)
กล่าวคือจะมีการทำลายแมคูลาไปทีละน้อยจนเกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ทำให้การมองเห็นภาพขาดความคมชัด เบลอ บิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงจนเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลา

          เมื่อแสงผ่านเข้าสู่ตา แสงจะผ่านกระจกตา (cornea) และแก้วตา (lens) ทั้งนี้ กระจกตาจะสามารถกรองแสงอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) บางส่วนไว้ได้ แสงส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านไปยังจอประสาทตา (retina) และพบว่าในบรรดาคลื่นแสงที่เรามองเห็นได้นี้ คลื่นแสงสีฟ้าซึ่งมีพลังงานสูงจะมีผลเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (free radical) ในเซลล์ของจอประสาทตาได้สูงเป็น 100 เท่าของคลื่นแสงสีแดงซึ่งมีพลังงานต่ำ โดยที่จอประสาทตานี้ จะมีจุดโฟกัสที่เรียกว่า แมคูลา ลูเทีย (macula lutea) มีสารสี (macular pigment) ที่เป็นสีเหลืองซึ่งประกอบไปด้วย ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) เชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้ทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชัน เพื่อป้องกันเซลล์รับแสง (photoreceptor cells) จากอันตรายของอนุมูลอิสระที่เซลล์สร้างขึ้นเนื่องมาจากมีปริมาณออกซิเจนสูง (oxygen tension) และจากการถูกแสง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสารประกอบทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการกรองแสงสีฟ้าที่เป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง โดยประมาณว่าจะสามารถกรองแสงสีฟ้าลงได้ถึง 40 % ก่อนที่แสงจะตกถึงแมคูลา ดังนั้นจะสามารถลดสภาวะความเครียดออกซิเดชันต่อจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 2) ในอดีต เมื่อปี 1994 มีการแนะนำการรับประทานลูทีน และซีแซนทีน ที่ 6 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ล่าสุด ได้มีรายงาน การศึกษาจากสถาบันดวงตาแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา โดยทำการศึกษา Age-Related Eye Disease Study 2 หรือเรียก โดยย่อว่า AREDS2 โดยใช้ลูทีนที่ 10 มิลลิกรัม และ ซีแซนทีนที่ 2 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 5 ปี ใน การศึกษาโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของดวงตาเมื่ออายุมากขึ้น (อ้างอิงที่ 7,8) มีการศึกษาสนับสนุนว่า ถ้าปริมาณลูทีน และซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (อ้างอิงที่ 9) และความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง หากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือดสูงขึ้น (อ้างอิงที่ 10,11)


2. แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)

          แอสตาแซนธิน เป็นสารแคโรทีนอยด์อีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้เช่นกัน ต้องได้จากการรับประทานเข้าไป ได้จากสาหร่ายสีแดงสายพันธุ์ Haematococcus pluvialis มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และพบว่ามีประโยชน์ต่อดวงตา โดยพบว่า ช่วยในเรื่อง ทำให้มองภาพได้ชัดขึ้น ด้วยกลไกช่วยการปรับโฟกัสของเลนส์ตา (Accomodation Function of Eye) (อ้างอิงที่ 12,13) ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตา จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยมีงานวิจยัให้ผู้ที่ ทำงานกับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จำนวน 26 คน รับประทานแอสตาแซนธินวันละ 5 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาการตาเมื่อยล้าดีขึ้น (อ้างอิงที่ 14) และพบว่าช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตาอีกดว้ย ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดี และช่วยลดอาการล้าของดวงตาได้ (อ้างอิงที่ 15) กล่าวได้ว่าแอสต้าแซนธิน คือสารอาหารที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องใช้สายตามาก ทำงานกับคอมพิวเตอร์ จ้องจอต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

 

3. วิตามิน เอ (Vitamin A) และวิตามินอี (Vitamin E)

          วิตามินเอ มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของการมองเห็น และมีส่วนช่วยคงสภาพปกติของเยื่อบุต่างๆ ขณะที่วิตามินอี มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ (อ้างอิงที่ 16)

4. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ (Bilberry Extract)

          สารสกัดจากบิลเบอร์รี่มีสารสำคัญที่มีประโยชน์คือ แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนานในด้านการบำรุงดวงตา ช่วยให้จอตาเป็นปกติ ชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา เพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา ช่วยเพิ่มการปรับตัวในการมองในที่มืด ช่วยลดอาการล้าของดวงตาได้ (อ้างอิงที่ 17, 18)

 

แอลซีวิต 3 เอ็กซ์

 

แอลซีวิต 3 เอ็กซ์ กิฟฟารีน LZvit 3X

ส่วนประกอบที่สำคัญใน 1 แคปซูล:

  • ลูทีน 5% 200 มก. (ให้ลูทีน 10 มก.)
  • แอสตาแซนธิน 2.5%จากฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิสสกัด 80 มก.(ให้แอสตาแซนธิน 2 มก.)
  • ซีแซนทีน 5% 63 มก. (ให้ซีแซนทีน 3.15 มก.)
  • สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ 10 มก.
  • ดีแอล-แอลฟา-โทโคเฟอริล แอซีเทต (50%) 6 มก. (ให้วิตามินอี 3 หน่วยสากล)
  • วิตามิน เอ แอซีเทต 4.098 มก. (ให้วิตามิน เอ 1332 หน่วยสากล)

 

รหัสสินค้า : 41034
ขนาดบรรจุ : 30 แคปซูล
ราคา : 920 บาท

 

สามารถนำรหัสสมาชิก 48004219 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Fanpage : ตัวแทนกิฟฟารีน
Email : mai-mee-jai@hotmail.com
โทร. 090-0491594 /Line : @welove.giffarine

สมัครสมาชิกกิฟฟารีนป้อนข้อมูลที่นี่ค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง

1. สารบำรุงตาจากพืชมีสี. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/359/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8 %A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B 8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0% B8%AA%E0%B8%B5/
2. กินอะไร…ชะลอจอประสาทตาเสื่อม. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลิยมหิดล https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/189/%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8% A5%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B 8%B2%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0% B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0 %B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
3. The Pharmacological Effects of Lutein and Zeaxanthin on Visual Disorders and Cognition Diseases. Molecules. 2017 Apr; 22(4): 610 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6154331/
4. A prospective study of carotenoid intake and risk of cataract extraction in US men. Am J Clin Nutr. 1999 Oct;70(4):517-24 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10500021
5. A prospective study of carotenoid and vitamin A intakes and risk of cataract extraction in US women. Am J Clin Nutr. 1999 Oct;70(4):509-16 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10500020

 

6. Antioxidant intake and risk of incident age-related nuclear cataracts in the Beaver Dam Eye Study. Am J Epidemiol. 1999 May 1;149(9):801-9 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10221316
7. Lutein and Zeaxanthin—Food Sources, Bioavailability and Dietary Variety in Age-Related Macular Degeneration Protection. Nutrients. 2017 Feb; 9(2): 120 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5331551/
8. NIH study provides clarity on supplements for protection against blinding eye disease. National Eye Institute. https://wayback.archiveit.org/1170/20190409092714/https://nei.nih.gov/news/pressreleases/050513
9. The Macular Pigment: A Possible Role in Protection from Age-Related Macular Degeneration. Adv Pharmacol. 1997;38:537-56 https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1054358908609989
10. Antioxidant status and neovascular age-related macular degeneration. Eye Disease Case-Control Study Group. Arch Ophthalmol. 1993 Jan;111(1):104-9 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7678730
11. Dietary carotenoids, vitamins A, C, and E, and advanced age-related macular degeneration. Eye Disease Case-Control Study Group. JAMA. 1994 Nov 9;272(18):1413-20 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7933422
12. Astaxanthin, cell membrane nutrient with diverse clinical benefits and anti-aging potential. Altern Med Rev. 2011 Dec;16(4):355-64 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22214255

 

13. The Effects of a Dietary Supplement Containing Astaxanthin on the Accommodation Function of the Eye in Middle-aged and Older People. Medical Consultation & New Remedies, 46 (3), March 2009 https://www.flexnews.com/files/bioreal031209.pdf
14. Effects of astaxanthin on accommodation, critical flicker fusions, and pattern visual evoked potential in visual display terminal workers. J Trad Med. 2002;19:170-73 https://pdfs.semanticscholar.org/13bf/024ccc9a07f88a36046d7d730d808c9fa37c.pdf
15. The Effect of Astaxanthin on Retinal Capillary Blood Flow in Normal Volunteers. Journal of Clinical Therapeutics and Medicines Vol. 21, No. 5 (May) 2005 http://luteza.com/documents/12a-.pdf
16. ประกาศส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/146/T_0051.PDF
17. Bilberry (Vaccinium myrtillus L.). Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92770/
18. Bilberry extract supplementation for preventing eye fatigue in video display terminal workers. J Nutr Health Aging. 2015 May;19(5):548-54 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25923485